วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กิจกรรมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมทายอารมณ์จากแผ่นภาพ
1. การเตรียมตัว
1.1 ศึกษาหาความหมายและความสำคัญ
1.2 ศึกษาท่าทางที่เด็กส่วนมากจะแสดงออก
1.3 ศึกษาวิธีการพูดและการอธิบาย เพื่อให้เด็กฟังแล้วเข้าใจ

2. การเตรียมสื่อ
2.1 แผ่นภาพใบหน้า เช่น หน้ายิ้ม หน้าโกรธ และหน้าร้องไห้

3. การจัดกิจกรรม/ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม
3.1 ให้เด็ก ๆ นั่งให้เรียบร้อย
3.2 นำแผ่นภาพใบหน้าให้เด็ก ๆ ดูและให้เด็กตอบว่าคืออารมณ์แบบไหน
3.3 ให้เด็กส่งตัวแทนมาเป็นผู้นำ ในการแสดงอารมณ์แล้วให้เพื่อนๆทำตาม

ผลของการจัดกิจกรรม
เด็กๆให้ความร่วมมือดีมาก และอารมณ์ที่เด็กๆชอบมากที่สุด คือ อารมณ์ยิ้มหรือการได้หัวเราะ
เด็กมีความสนใจ และปฏิบัติตามข้อตกลงได้ดี เพราะเด็กๆตั้งใจฟัง และเด็กก็ถามว่ามีกิจกรรมอีกไหม
อยากทำอีก เพราะสนุกดี และได้บอกน้องๆไปว่าถ้าพี่ว่างจะมาทำให้น้องๆอีก ต่างคนก็พากันไปเล่นต่อ

ความรู้สึกของผู้ทำ
คือ เกิดอาการกลัวมากเพราะต้องไปขออนุญาติจากผู้ปกครองก่อน แล้วจึงให้เด็กทำกิจกรรมได้
ตอนทำก็กลัวจะสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง แต่ไม่เป็นอย่างที่คิดเด็กๆ น่ารักมากให้ความร่วมมือดี

และเมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วรู้สึกดีใจ และมีความสุขเมื่อได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆทุกคน

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ชวน"พูด"ช่วยลูกพัฒนาการ


......อย่ามองข้ามเรื่องเล็กๆ น้อยอย่างการพูดไปเชียวค่ะ เพราะจริงๆ แล้วการพูดเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของชีวิตเลยทีเดียว ปฏิเสธไม่ได้นะคะว่าการสื่อสารนะต้องใช้ภาษาพูดด้วย ถ้าเรามองข้ามพัฒนาการด้านภาษาของเจ้าตัวเล็กในช่วงวัยอนุบาลไปล่ะก็ ขอบอกว่าถ้าจะไปฝึกพัฒนากันใหม่ตอนโตเนี่ย..จะทำได้ยากส์มากเลยค่ะ ไม่ได้ขู่ให้ใจเสียนะคะ แต่ไม่ถึงกับสิ้นหวังซะทีเดียว เพียงต้องใช้เวลานานสักหน่อยเท่านั้นเอง เด็กในช่วงวัยอนุบาลเป็นช่วงที่มีการพัฒนาทางภาษาเร็วมากค่ะ ทุกช่วงของรอยต่อมีความสำคัญต่อการต่อยอดทั้งสิ้น การดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่เริ่มแรกจะช่วยให้เด็กมีพื้นฐานและสามารถพัฒนาต่อไปได้ดี ซึ่งก็ไม่ใช่แค่การพูดเท่านั้นนะคะ
......พัฒนาการทางภาษาจะส่งผลถึงการพัฒนาการของเด็กในทุกๆ ด้าน ในทางตรงกันข้ามหากพ่อแม่หรือโรงเรียนละเลยช่วงเวลาที่สำคัญนี้ เมื่อโตขึ้นไปพัฒนาการในด้านนี้ก็จะพัฒนาได้ช้าลง แล้วก็ไปส่งผลกระทบถึงพัฒนาการด้านอื่นๆ ต่อ อย่างเช่น เมื่อลูกไม่ยอมพูด อาจจะเพราะกลัวคนแปลกหน้า เราก็ไม่ดูแล ไม่สร้างความมั่นใจให้กับเขา เมื่อเขาโตขึ้นไปพัฒนาการทางสังคมของเขาก็ไม่เกิดไงคะ ลูกจะกลายเป็นคนที่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ กลายเป็นเด็กขี้เหงาเพราะไม่มีเพื่อน
......เพราะฉะนั้นยอมลงทุนกันตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อที่ว่าเมล็ดพันธุ์ต้นเล็กๆ ของพวกเราจะได้เติบโตขึ้นมาอย่างสมบูรณ์ยังไงล่ะค่ะ

ปัญหาในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัย


ปัญหาในการใช้ภาษาถือเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่สำคัญกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย เนื่องจาก ภาษาเป็นสิ่งสำคัญของการเรียนรู้สิ่งต่างๆของเด็ก ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจมีที่มาจากหลายสาเหตุ อาทิ อาการผิดปกติของระบบสมองและประสาท ที่บังคับควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด หูหนวกทำให้ไม่ได้ยินเสียงที่ผู้อื่นพูด เมื่อไม่ได้ยินเสียง เด็กจึงไม่สารถเลียนแบบเสียงผู้อื่นเพื่อฝึกพูดได้ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความบกพร่องทางร่างกาย อาการตึงเครียดทางอารมณ์ทำให้หมดความสนใจที่จะฝึกฝนการพูดก็อาจเป็นอีกสาเหตุที่เกี่ยวข้อง
เด็กบางคนอาจมีอาการพูดติดอ่าง ซึ่งอาการพูดติดอ่างนี้ สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น
- เติบโตช้าผิดปกติ สมองช้า
- มีอารมณ์ประเภทต่างๆรุนแรงเกินสมควร เช่น ตื่นเต้น หวาดกลัว วิตกกังวล เศร้าโศก เสียใจ ระวังตนเองมากเกินไป
- สมองคิดเร็วเกินกว่าที่จะพูดออกมาทัน
- ถูกล้อเลียนทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง ประหม่า ไม่แน่ใจ เคร่งเครียด เพราะถูกกวดขันอย่างเข้มงวด

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย



แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีพัฒนาการต่อจากวัยทารกอยู่ในช่วงอายุ 3 – 6 ปี ซึ่งนักจิตวิทยาและนักการศึกษา ต่างให้ความสำคัญกับเด็กในวัยนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรก ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้และมีพัฒนาการทางด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสัดส่วนในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่มากขึ้น ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ รวมถึงรูปแบบการคิดอ่าน การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ซึ่งโดยปกติเด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการที่สำคัญคือ

1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย เช่น แขนและขาจะยาวออกไป ศีรษะจะได้ขนาดกับลำตัว โครงกระดูกแข็งแรงขึ้น เริ่มมีทักษะในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น รู้จัก การป้อนข้าวเอง แต่งตัวได้เอง ใส่รองเท้าและอาบน้ำได้ด้วยตนเอง ในปลายวัยเด็กตอนต้นฟันแท้จะเริ่มขึ้น 1-2 ซี่

2. พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัยนี้มักเป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิด โกรธง่าย ดื้อรั้นเป็นวัยที่เรียกว่าชอบปฏิเสธ และอาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปเอง เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนและมีเพื่อนเล่น แต่อย่างไรก็ตาม พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กจะมั่นคงเพียงใดขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูเป็นสำคัญ

3. พัฒนาการทางสังคม เริ่มรู้จักการคบเพื่อน เล่นกับเพื่อน ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน รู้จักการร่วมมือ การยอมรับฟัง เริ่มรู้จักการแข่งขันระหว่างกลุ่มเมื่ออายุ 4-5 ขวบ และมักเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน การเล่นกับเพื่อนนี้จะช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น ไม่รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้ง

4. พัฒนาการทางภาษา จะเป็นไปทีละขั้น เริ่มใช้ภาษาได้ดีพอสมควร รู้จักศัพท์เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เรียนรู้คำใหม่ๆมากขึ้น

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การสร้างบล็อก


วันนี้เรียนเหนื่อยจังเลยตอนนี้หิวข้าวมากด้วยเพื่อนๆหิวเหมือนกันไหมหนอ

เพื่อนๆจําตอนนี้อากาศเปลี่ยนแปลงแล้วขอให้ดูแลตังเองกันด้วยนะ

การสร้างบล็อก

วันนี้เรียนเหนื่อยมากเลยตอนนี้หิวข้าวจังเลยเพื่อนหิวเหมือนกันไหมหนอ
เพื่อนๆจ๋าตอนนี้อากาศเปลี่ยนแปลงดูแลสุขภาพกันด้วยนะ

เกศเองค่ะ

เกศสิณี เพิ่มญาติ

เพลงแทนความรู้สึก